รู้จัก XHTML 

 
 

  ในปัจจุบันการสร้างเว็บกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว และภาษา HTML ก็ถูกใช้เป็นภาษาหลักในการพัฒนาเว็บเสียด้วย ข้อดีของ HTML คือเป็นภาษาโครงสร้างที่มีรูปแบบที่ง่าย ผู้ใช้เข้าใจได้เร็ว และสร้างได้ไม่ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง มีการจัดระบบระเบียบไม่วุ่นวาย หรือวุ่นวายน้อยเมื่อเทียบกับภาษาโปรแกรมแบบอื่นๆ
ข้อดีต่างๆ เหล่านี้ถูกใจผู้ใช้มากในช่วงแรก ขอย้ำว่าในช่วงแรกเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีเสียงบ่นต่อว่ามามากมายว่า HTML ไร้มาตราฐาน ตรวจสอบและหาจุดผิดยาก เนื่องจากรูปแบบของภาษานั่นเอง ลองคิดดูว่าถ้าเราเขียนโค้ด HTML ในลักษณะนี้  <b><u>Hello World!</b></u> สลับแท็กแบบนี้แต่ไม่เกิดข้อผิดพลาดใดๆ  แจ้งเตือนผู้เขียนเว็บไซต์จะเกิดอะไรขึ้นครับ การแสดงผลผ่านบราวเซอร์ของผู้เขียนเว็บอาจจะแสดงได้ถูกต้อง แต่พอเป็นบราวเซอร์ของผู้ใช้ละครับจะแสดงผลเหมือนของผู้เขียนเว็บหรือเปล่า นี่แหละครับคือปัญหา บางครั้งผู้เขียนกับผู้ดูก็สื่อสารกันไม่รู้เรื่องเนื่องจากหน้าจอและรูปแบบที่เห็นไม่เหมือนกัน บางครั้งทะเลาะกันก็มี ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการดูกับบราวเซอร์ตัวต่างๆ จำเป็นต้องมีมาตราฐานที่เข้มขึ้นครับ นั่นก็คือ XHTML นั่นเอง

 
 
 
 
XHTML  คืออะไร ?
 
 
XHTML ( Extensible Hyper Text Markup Language ) คือมาตราฐานใหม่ที่จะทำให้ HTML ตกกระป๋องไป ด้วยรูปแบบที่เข้มขึ้น มีมาตราฐานมากยิ่งขึ้น และตรวจสอบได้ง่ายขึ้น เรามาดูรูปแบบใหม่ของ XHTML ด้วยกัน
 
     
 

มาตราฐานใหม่ของ XHTML

 
 
สำหรับมาตราฐานต่างๆ ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ สำคัญสำหรับ XHTML เท่านั้น ส่วน HTML ธรรมดา จะไม่ถือว่ามาตราฐานเหล่านี้สำคัญ จะไม่ใส่ก็ไม่ผิด
 
 
1.
.  ต้องมีการประกาศ DOCTYPE เสมอ เช่นถ้าเป็นเอกสาร XHTML ธรรมดา DOCTYPE จะประกาศดังนี้  <!DOCTYPE html PUBLIC “_//W3C//DTD XHTML 1.0 Transitional//EN” http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1transitional.dtd”>
แต่ถ้าเป็นเอกสาร XHTML ที่เป็นแบบ frameset เราจะประกาศดังนี้   <!DOCTYPE html PUBLIC “_//W3C//DTD XHTML 1.0 Frameset//EN” http://www.w3.org/TR/xhtml1/DTD/xhtml1frameset.dtd”>
2.
แท็กนอกสุดต้องเป็น <html> เท่านั้น
3.
แท็ก <head> , <title> , <body> และ <frameset> แท็กเหล่านี้ห้ามลืมใส่ต้องมีเสมอทุกครั้ง ( สำหรับ <body> และ <frameset> จะมีได้อันใดอันหนึ่งเท่านั้น ขึ้นกับว่าหน้าเว็บเพจนั้นเป็นเว็บธรรมดา หรือเป็นหน้า Frameset )
4.
ห้ามสลับแท็ก เช่น <b><u>Hello World!</b></u> แบบนี้ผิด ต้องแก้เป็น <b><u>Hello World!</u></b> เรียงลำดับการเปิดการปิดให้ถูกต้อง
5.
แท็กทุกแท็ก แอตทริบิวต์ทุกตัวเขียนด้วยตัวเล็กทั้งหมด
6.
ทุกแท็กเปิดต้องมีแท็กปิดด้วยเสมอ ห้ามเปิดทิ้งไว้โดยไม่ปิด
7.
แท็กที่ไม่ต้องการแท็กปิด ต้องเขียนจบแท็กด้วย “ />” เช่น <br /> แบบนี้คือถูก แต่ถ้าเขียนแบบนี้ </br> ผิด
8.
แอตทริบิวต์ห้ามเขียนย่อ และต้องใส่ฟันหนูให้ค่าที่กำหนดในแอตทริบิวต์ด้วย เช่น <td nowrap> ( เขียนแบบย่อผิด ) , <td nowrap=nowrap> ( เขียนแบบเต็มแต่ลืมใส่ฟันหนูก็ผิด ) , <td nowrap=”nowrap”> ( แบบนี้ถูก )
9.
แท็กที่มีแอตทริบิวต์ name ต้องมีแอตทริบิวต์ id ใส่ด้วยทุกครั้ง เช่น <a> , <applet> , <form> , <frame> , <iframe> <img> และ <map> กำหนดแบบนี้ <a name=”intro”>Introduction</a> ผิด ที่ถูกต้องกำหนดแบบนี้ <a id=”intro”>Introduction</a> หรือ <a id=”intro” name=”intro”> Introduction</a>
10.
แท็ก script ต้องมีแอตทริบิวต์  type และ Ianguage เสมอ
11.
แท็ก style ต้องมีแอตทริบิวต์ type เสมอ