|
แม่ขี้บ่น...ลูกต้องไม่ขี้โกรธ
|
|
|
ให้เราพิจารณาดูว่า นิสัยขี้บ่นของแม่นั้น เราจะช่วยทำให้ลดลงได้ไหม ปกติก้จะเปลี่ยนได้ยากหรือเปลี่ยนไม่ได้ เราคงต้องปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ไม่ต้องคิดจะให้เปลี่ยน มองให้เห็นว่า อารมณ์ของแม่เหมือนลมฟ้าอากาศ มีทั้งหนาวเย็น ร้อน ฝนตก แห้งแล้ง มีลม ไม่มีลม ลมแรงและพายุ
|
|
|
อารมณ์ของแม่ที่ไม่ถูกใจเรา เปรียบเหมือนสภาวะอากาศที่เราไม่ชอบ เช่น หนาวไป ร้อนไป สิ่งที่เราต้องทำก็คือป้องกันรักษาตัวไม่ให้ทุกข์ จิตใจก็เหมือนกัน เราต้องป้องกันด้วยใจดีมีเมตตา ใช้สติปัญญารักษาใจไม่ให้ทุกข์ คือหน้าที่ของเราหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีสติมั่นคง ใจเราก็ไม่ยินดียินร้าย ถึงอย่างไรก็สำรวมกาย วาจา การแสดงออกทางกายให้เป็นปกติ ทางวาจาให้พูดดีๆ ไพเราะน่าฟัง ใจก็คิดดี มีเมตตา เห็นอกเห็นใจแม่ พยายามรักษาความรู้สึกที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถึงแม้ว่าไม่ชอบ ก็อดทน อดกลั้นไว้ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
|
|
|
พิจารณาดูว่า อารมณ์ขี้บ่นเป็นเหมือนอาการท้องผูกของเสียเก็บไว้ในร่างกายนานๆ มำให้ไม่สบายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อกินยาระบายเข้าไประบายของเสียออกมาได้ ก็รู้สึกสบายกาย สำหรับคนขี้บ่น อารมณ์หงุดหงิด เป็นของเสียที่สะสทไว้ในใจ ถ้าเก็บกดไว้จะเครียด เป็นโรคประสาทได้ เมื่อได้ระบายออกมาทางวาจา เขาก็ค่อยสบายใจขึ้น
|
|
|
ตามรายงานของจิตแพทย์ พบว่าผู้หญิงอเมริกันวัยกลางคนมีความรู้สึกปฎิเสธ หรือไม่พอใจ มากถึงประมาณ 30,000 ครั้งต่อวัน หรือทุก 3 วินาที ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบนี้เกิดจากการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราจะจัดการกับความรู้สึกได้ถูกต้อง โดยไม่เข้ายึดมั่นถือมั่น เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง ตรงกันข้าม ถ้าไม่ฉลาด ก็จะยึดถือ นำมาคิดปรุงแต่งแสดงออกทางวาจา เป็นคนขี้บ่น ประสบการณ์ภายในใจของมนุษย์เราจริงๆ แล้วมีพอๆกัน แต่บางคนเก็บสะสม เหมือนอาการท้องผูก
|
|
|
คำพูดที่ไม่พอใจคือ บ่น ไม่มีใครอยากฟัง แต่เมื่อของเราบ่น ให้เข้าใจว่าท่านกำลังทุกข์ไม่สบายใจเราควรเสียสละ ใจดีพอที่จะรับเป็นสุขภัณฑ์ที่ดีให้แก่แม่เป็นสุขภัณฑสอาด ใช้ได้สะดวก มีน้ำไหลแรงๆ หน่อย แม่บ่นเมื่อไรก็ใจดีรับฟัง แม่จะสบายใจ ไม่ต้องขัดใจ ยิ่งของเสียออกมากยิ่งดีต่อสุขภาพ อายุยืนแต่เราต้องระวัง ถ้าคุณภาพสุขภัณฑ์ไม่ดีพอ เราจะ...สกปรกน่าดู
|
|
|
เราต้องมีสติปัญญา เมตตา กรุณา ขันติ เป็นคุณธรรมประจำใจ เป็นโอกาสที่เราจะสร้างคุณงามความดี และเข้าใจธรรม ทำได้ดี ทำได้มากเท่าไร ก็เท่ากับเราก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมแล้วในที่สุดจะรู้สึกขอบคุณแม่ที่เป็นแบบฝึกหัดให้แก่เราได้พัฒนาจิตใจ
|
|
|
|
|
|
|
|