แหล่งรวมความรู้ออนไลน์
หน้าแรก เว็บบอร์ด

 
 

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออนไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ
 
 
 

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย – แปซิฟิก ( Asia Pacific Economic Cooperation : APEC )

 
     
 

       ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1989 จากข้อเสนอของนาย บ๊อบ ฮอว์ก ( Bob Hawke ) อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ  จนกลายเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีประชากรร่วมกันมากที่สึดกว่า 2,000 ล้านคน ครอบคลุม 3 ประเทศ คือ เอเซีย ออสเตรเลีย และ อเมริกา มีสมาชิกเริ่มก่อตั้ง 12 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน 6 ประเทศ ( บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ) และ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ต่อมา จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เข้าเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1991 แม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี ค.ศ. 1993 ชิลี ค.ศ. 1994 เวียดนาม เปรู รัสเซีย ค.ศ. 1998 รวมเป็น 21 ประเทศ และ มีสำนักเลขาธิการ APEC ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์

 

 
  วัตถุประสงค์ของความร่วมมือทางธุรกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิก  
 
1.
สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย – แปซิฟิก และ ของโลก
2. พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าพหุพาคี บนรากฐานการเปิดการค้าเสรี
3. ลดอุปสรรคการค้าสินค้าและการค้าบริการ ตลอดจนการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกโดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของเกตต์
4.

ส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก ปรับปรุงกฎเกณฑ์ทางการค้าให้เกิดความเป็นธรรมในหมู่ประเทศสมาชิก

 
     
 

พัฒนาการความร่วมมือของกลุ่มเอเปค

 
 

       ความร่วมมือของสมาชิกในกลุ่มเอเปคได้พัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ ซึ่งได้มีการประชุมระดับผู้นำทุกปีเป็นประจำ เพื่อร่างข้อตกลงร่วมกัน และจะประชุมผู้นำเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการประชุมระดับรัฐมนตรี การประชุมแต่ละครั้งได้ข้อสรุป ดังนี้

 
 
1.
การวางกรอบการดำเนินงานของเอเปค ได้มีการประชุมสมาชิกขึ้นเป็นครั้งแรกที่ ออสเตรเลีย ระหว่างปี ค.ศ. 1989 – 1993 ที่ประชุมเสนอแนวคิดที่จะสร้างประชาคมเอเซีย – แปซิฟิกเป็นภูมิภาคแบบเปิด
2. ให้มีการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย – แปซิฟิก ผลสืบเนื่องมาจากการประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ 2 ที่ อินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1994 ที่ประชุมได้ยอมรับหลักการที่จะมีเขตการค้าเสรีแต่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และความพร้อมของแต่ละประเทศ โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010 แต่ประเทศที่กำลังพัฒนาให้เปิดเสรีในปี ค.ศ. 2020
3.

การประกาศวาระปฎิบัติการเปิดเสรี ในปี ค.ศ. 1995 ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคครั้งที่ 3 ได้จัดทำแผนปฎิบัติการโอซาก้า เพื่อเป็นต้นแบบในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นเขตการค้าเสรี

4. ร่วมกันผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ จากการประชุมสุดยอดครั้งที่ 4 ที่ ฟิลิปปินส์ สมาชิกตกลงร่วมกันผลักดันมาตรการหลายอย่าง เช่น การเปิดการค้าเสรี บริการ การลงทุน และ สาธารณูปโภค ให้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และ วิชาการ และ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สนับสนุนการลงทุนในธุรกิจขนาดกลาง และ เล็ก
5.

การเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ ในที่ประชุมที่ประเทศ แคนาดา ในปี ค.ศ. 1997 ตกลงกันให้เปิดเสรีล่วงหน้าตามความสมัครใจถึง 15 สาขา ประกอบด้วยสินค้า และ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ พลังงาน ผลิตภัณฑ์จากป่า เป็นต้น ซึ่งไทยมีท่าทีคัดค้านการเปิดเสรีด้านผลิตภัณฑ์จากป่า และ การประมง ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตภายในประเทศ

6. ความล้มเหลวในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค สืบเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจในเอเซีย ทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคต่อมาอีก 4 ครั้ง ไม่ประสบความสำเร็จ ครั้งที่ 6 ประชุมที่ มาเลเซีย ผู้เข้าประชุมมุ่งอภิปรายวิกฤตทางเศรษฐกิจและหาแนวทางแก้ปัญหา ครั้งที่ 7 ที่ประเทศ นิวซีแลนด์ และ ครั้งที่ 8 ที่ บรูไน ความสนใจอยู่ที่เรื่องปัญหาติมอร์ตะวันออก การรับจีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก  ส่วนครั้งที่ 9 ที่ สาธารณรัฐประชาชนจีน หัวข้อประชุมเป็นเรื่องผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา จากพฤติกรรมดังกล่าวทำให้การเปิดเสรีทางการค้าของกลุ่มเอเปคชะลอตัวแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาประเทศผู้นำก็ได้ลดความสำคัญของเอเปคหันไปสนใจการเจรจาในกรอบขององค์การการค้าโลก
 
     
     
 
 
 
 

Site Meter ©2008 www.9bkk.com All rights reserved Online Users