 |
 |
 |
|
สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ( The Association of Southeast Asian Nations : ASEAN ) |
|
|
|
|
|
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1967 มีสมาชิกได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และ ไทย ได้ลงนามในปฎิญญากรุงเทพ ฯ ต่อมา บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า เข้ามาเป็นสมาชิก และ กัมพูชา ได้เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียเมื่อปี ค.ศ. 1999 ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริงประเทศสมาชิกมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา และ ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอินโดจีน ซึ่งเคยเป็นปรปักษ์กันทางการเมืองในยุคสงครามเย็น เข้ามาเป็นสมาชิกสมดังเจตนารมย์ของผู้นำในการก่อตั้ง และ รอการเข้ามาเป็นสมาชิกอันดับที่ 11 ของ ติมอร์ตะวันออกในโอกาสต่อไป อาเซียนมีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย
|
|
|
วัตถุประสงค์ของอาเซียน มีสาระสำคัญ ดังนี้ |
|
|
1. |
เพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และ วัฒนธรรมของภูมิภาค |
2. |
เพื่อส่งเสริมสันติภาพ และ เสถียรภาพของภูมิภาค ยึดมั่นในหลักการของสหประชาชาติ |
3. |
ส่งเสริมให้มีความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยขน์ทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารอย่างจริงจัง |
4. |
เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม การวิจัยในด้านการศึกษา วิชาชีพและการบริหาร |
|
|
|
|
|
|
ประเทศไทยกับอาเซียน |
|
|
ประเทศไทยในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งอาเซียน ไทยได้รับประโยชน์จากอาเซียนในด้านต่างๆ ดังนี้ |
|
|
1. |
ด้านการเมืองและความมั่นคง ไทยได้ใช้กลไกของอาเซียนในการรักษาอธิปไตยของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงของสงครามเย็น โดยเฉพาะหลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนาม การยึดครองกัมพูชาของเวียดนาม ทำให้ประเทศกลุ่มอาเซียนหันมาร่วมมือกันมากขึ้น โดยมีไทยเป็นแรงผลักดันสำคัญเนื่องจากเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่มีพรมแดนติดกัมพูชา อาเซียนสามารถร่วมกันผลักดันในกรอบของสหประชาชาติและเวทีระหว่างประเทศอื่นๆ จนสามารถกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา พลังความร่วมมือของอาเซียนก่อให้เกิดสันติภาพในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ |
2. |
ด้านเศรษฐกิจ ไทยได้มีส่วนเพิ่มพูนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจภายในกลุ่มอาเซียนและกลุ่มอินโดจีนอย่างจริงจัง เห็นได้จากนโยบาย เปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้า แสดงให้ถึงวิสัยทัศน์อันยาวไกลของผู้นำไทยในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจและศักยภาพของประเทศในภูมิภาคนี้ เนื่องจาก 10 ประเทศอาเซียนรวมกันเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรถึง 500 ล้านคน มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และมีแรงงานขยันขันแข็งที่เอื้อต่อการลงทุนเพื่อการผลิต |
3. |
ด้านสังคม ไทยนับว่ามีบทบามสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในภูมิภาคเอเซียให้ได้รับการศึกษา การฝึกอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์มีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคง |
|
|
|
การดำเนินงานด้านการศึกษา ไทยได้ร่วมมือกับประเทศอาเซียนตั้งเครือข่ายมหาวิยาลัยดาเซียน ( ASEAN University Network ) ในด้านสาธารณสุขไทยและสมาชิกอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านเภสัชกรรม ในส่วนของเยาวชนไทยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อเยาวชน เช่น การให้ความรู้ด้านเกษตรกรรมสำหรับเยาวชนในชนบท โครงการเรือเยาวชนเอเซียอาคเนย์ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี ไทยยังได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์อบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด และ โครงการควบคุมโรคเอดส์ร่วมกับอาเซียน อีกทั้งยังผลักดันให้อาเซียนยกระดับความร่วมมือด้านพัฒนาสังคมโดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิตและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ของไทย |
|
|
|
|
|
ภายหลังจากการเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในไทย ซึ่งได้ขยายไปยังประเทสอื่นๆ ไทยได้เสนอการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม ( Social Safety Nets ) ที่จะให้อาเซียนร่วมกันแก้ไขผลกระทบทางด้านสังคม มีการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนเพื่อส่งเสริมแลกเปลี่ยนนักศึกษา นักวิชาการตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|