1. |
สมัชชา สมัชชาเป็นที่รวมของประเทศสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ซึ่งทุกประเทศมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง มีหน้าที่พิจารณาและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ภายในกรอบของกฎบัตรสหประชาชาติ แม้ว่าสมัชชากำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ เรียกร้องให้มีการประชุมระดับโลกในหัวข้อสำคัญๆ และกำหนดปีสากลเพื่อเน้นความสนใจในประเด็นที่สำคัญๆ ของโลก สมัชชามีการประชุมสมัยสามัญปีละครั้ง การลงคะแนนเสียงในเรื่องทั่วๆ ใช้เสียงข้างมากแต่ถ้าเป็นปัญหาสำคัญจะต้องได้คะแนน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม |
2. |
คณะรัฐมนตรีความมั่นคงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกถาวร มี 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศษ รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และ สมาชิกชั่วคราว มี 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี ในกรณีประเทศสมาชิกถาวรประเทศใดประเทศหนึ่งออกเสียงคัดค้าน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิยับยั้ง ( Veto ) อันจะมีผลทำให้เรื่องนั้นๆ ตกไปในยุคของสงครามเย็นการดำเนินงานของคณะมนตรีความมั่นคงประสบกับสภาวะชะงักงัน เนื่องจากการใช้สิทธิยับยั้งของประเทศมหาอำนาจ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสมาชิกประจำหรือไม่ก็ตาม จะต้องงดเว้นออกเสียง เมื่อมีการพิจารณาปัญหาข้อพิพาทที่ตนเป็นคู่กรณีด้วย |
3. |
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม มีหน้าที่สำคัญ คือ การส่งเสริมและจัดทำข้อเสนอแนะกิจกรรม ที่มุ่งเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเรื่องการค้า การขนส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาเศรษฐกิจ ประชากรและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยสมาชิก 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี การลงคะแนนเสียงใช้คะแนนเสียงข้างมาก ภายใต้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการประจำภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิก ( The Economic and Social Commission for Asia and The Pacific : ESCAP ) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร |
4. |
คณะมนตรีภาวะทรัสตี ประกอบด้วย จีน ฝรั่งเศษ รัสเซีย อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลดินแดนในภาวะทรัสตีที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ รับผิดชอบอยู่เพื่อให้มีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนอันจะนำไปสู่การปกครองตนเอง หรือการได้รับเอกราช เดิมดินแดนในภาวะทรัสตีมี 11 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา และมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งได้รับเอกราชไปหมดแล้ว ปาเลา ( Palau ) เป็นดินแดนในภาวะทรัสตีแห่งสุดท้าย เดิมอยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ส่งผลให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีหยุดการปฎิบัติงานอย่างเป็นทางการและจะประชุมเฉพาะเรื่องพิเศษตามความจำเป็น |
5. |
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์การตุลาการที่สำคัญของสหประชาชาติ ประกิบด้วยผู้พิพากษา จำนวน 15 นาย อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี คู่ความที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลได้จะต้องเป็นรัฐคู่กรณีซึ่งเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ถ้ามิใช่สมาชิกจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมัชชา เอกชน จะนำคดีมาสู่ศาลนี้ไม่ได้ |
6. |
สำนักเลขาธิการ ทำหน้าที่บริหารงานของสหประชาชาติภายใต้การนำของเลขาธิการสหประชาชาติเลือกตั้งโดยสมัชชาด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่าสองในสามทั้งนี้โดยคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคง เลขาธิการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี โดยหลักการเลขาธิการจะมาจากประเทศที่เป็นกลางหรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หร้าที่สำคัญของเลขาธิการ คือ การรายงานสถานการณ์ระหว่างประเทศที่กระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบ และ ทำหน้าที่ทางการทูตของสหประชาชาติ |
|
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์การสหประชาชาติมาจนถึงปัจจุบันมีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ ดังนี้
1.) นาย ทริกเว ลี ( Trygve Lie ) จาก ประเทศนอร์เวย์ ( ค.ศ. 1946 1953 )
2.) นาย ดั๊ก ฮัมมาร์โชลด์ ( Dag Hammarskjold ) จาก ประเทศสวีเดน ( ค.ศ. 1953 1961 )
3.) นาย อู ถั่น ( U Thant ) จาก ประเทศพม่า ( ค.ศ. 1961 1971 )
4.) นาย คูร์ต วอลด์ไฮม์ ( Kurt Waldheim ) จาก ประเทศออสเตรีย ( ค.ศ. 1972 1981 )
5.) นาย ฮาเวียร์ เปเรส เดอ เควยาร์ ( Javier Perez de Cuellar ) จาก ประเทศเปรู ( ค.ศ. 1982 1991 )
6.) นาย บรูโทรส บรูโทรส กาลี ( Boutros Boutros Ghali ) จาก ประเทศอียิปต์ ( ค.ศ. 1992 1996 ) |
7. |
นาย โคฟี อันนัน ( Kofi Annan ) จาก ประเทศกานา เข้ารับตำแหน่ง วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2001 ต่อมาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสหประชาชาติสมัยที่ 2 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2002 |