แหล่งรวมความรู้ออนไลน์
หน้าแรก เว็บบอร์ด

 
 

โฆษณา,โฆษณาออนไลน์,การโฆษณา,สื่อโฆษณา,การตลาด,บริษัทโฆษณา,ประชาสัมพันธ์,ลงโฆษณา,ประกาศ,ออนไลน์,online,online advertising,advertising,โปรโมทสินค้า,โปรโมทเว็บไซต์,promote website,seo,pay per click,ad per click,media,ค้นหาเว็บ,media,สื่อ
 
 
 

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ( United Nations Conferences on Trade and Development : UNCTAD )

 
     
 

          อังค์ถัด  เป็นองค์การระหว่างประเทศภายใต้กรอบ ขององค์การสหประชาชาติเกิดขึ้นจากความพยายามและความร่วมมือของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งรวมกันเรียกว่ากลุ่ม 77 ( G77 ) มีการประชุมครั้งแรกที่ นครเจนีวา ในปี ค.ศ. 1964 เพื่อเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วร่วมมือหาทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการค้าและการพัฒนาของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยให้ประเทศที่กำลังพัฒนามีส่วนในการพิจารณาตัดสินปัญหาเกี่ยวกับการค้าและการเงินระหว่างประเทศ

 

 
  วัตถุประสงค์ของอังค์ถัด  
 
1.

เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศที่มีระดับการพัฒนาแตกต่างกัน และ มุ่งขจัดอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาได้รับผลประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ โดยการร่วมมือกับองค์การต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกที่มีอยู่อย่างใกล้ชิด

2. เพื่อดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น การเจรจาและต่อรองปัญหากฎหมายอันเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นของสหประชาชาติ
3. เป็นศูนย์กลางระดับโลกในการดำเนินงานเพื่อให้นโยบายการค้าและการพัฒนาของประเทศต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาคต่างๆ มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน
 
     
 

บทบาทและผลงานขององค์การอังค์ถัด

 
 

การประชุม UNCTAD เริ่มจัดเป็นครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1964 จนถึงปัจจุบัน มีการประชุมใหญ่ไปแล้ว 10 ครั้ง มีผลงานที่สำคัญ ดังนี้

 
 
1.
ริเริ่มให้มีระบบสิทธิประโยชน์ทางการค้า โดยจัดทำโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ( Generalized System of Preference : GSP ) ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา

  GSP  หมายถึง  ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทั่วไป ที่ประเทศพัฒนาแล้วให้แก่สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศกำลังพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าแก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า ทั้งนี้โดยประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ จะเป็นผู้ให้ฝ่ายเดียว โดยไม่หวังผลตอบแทน และไม่มีการเลือกปฎิบัติการดำเนินงานปัจจุบันมีระบบการให้ GSP ทั้งหมด 16 ระบบ โดยประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ จะได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าภายใต้ GSP ในอัตราต่ำกว่าภาษีขาเข้าทั่วไป มีผลประโยชน์ต่อประเทศผู้ได้รับในด้านการส่งเสริมการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มรายได้จากการส่งออกและเร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

2. การให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยการจัดทำโครงการให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ทั้งทางด้านภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร ( Global System of Trade Preference Among Developing Countries : GSTP ) ซึ่งเป็นโครงการที่ประเทศกำลังพัฒนาให้สิทธิพิเศษระหว่างกัน สมาชิกกลุ่ม 77 ได้ยื่นรายการขอลดหย่อนสินค้าซึ่งกันและกัน รวม 1,627 รายการ ข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้านี้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ ค.ศ. 1987 โครงการนี้ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นและเกิดการขยายการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา
3. บทบาทในการแก้ปัญหาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเป็นผู้ริเริ่มจัดทำโครงการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสินค้าโภคภัณฑ์จากการประชุมอังค์ถัด สมัยที่ 4 ค.ศ. 1976 ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งโครงการร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ โดยวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการผลิตอยู่ในระดับที่เหมาะสมทั้งระดับราคาการปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ส่งเสริมการขยายตัวด้านการค้า สินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกลงมี 8 ประเภท ได้แก่ กาแฟ น้ำตาล โกโก้ เนื้อโค นม ปอ และ ผลิตภัณฑ์ปอ ไม้เขตร้อน และ ยางธรรมชาติ
 
 

เพื่อให้การดำเนินงานการข้อตกลงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อตกลงสินค้าโภคภัณฑ์ได้กำหนดที่จะดำเนินการที่สำคัญ คือ

 
 

1.)  จัดตั้งองค์กรข้อตกลงสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ

 
 

2.)  ให้มีกลไกต่างๆ ในการเข้าแทรกแซงตลาด

 
 

3.)  ให้มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต

 
 

4.)  จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์

 
     
  ประเทศไทยกับอังค์ถัด  
 

      ไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมองค์การอังค์ถัดครั้งที่ 10 ในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 การประชุมครั้งนี้เป็นรูปแบบใหม่ได้ให้ภาคประชาสังคม ( Civil Society ) ซึ่งประกอบด้วย ภาคเอกชน องค์การเอกชนและนักวิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐ ผลการประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ สรุปได้ ดังนี้

 
 

1.)  ปฎิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration ) เป็นแผนแม่บทในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก เป็นการกำหนดบทบาทของอังค์ถัดในสหัสวรรษใหม่ให้อำนวยประโยชน์ต่อกลุ่มประเทศสมาชิก

 
 

2.)  แผนปฎิบัติการกรุงเทพฯ ( Bangkok Plan of Action ) เป็นการนำวิธีการไปสู่การปฎิบัติให้ประเทศสมาชิกมีความเท่าเทียมกัน มีโอกาสที่จะรับการปฎิวัติทางเทคโนโลยี การเปิดตลาดการค้าสาขาต่างๆ และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนบทบาทขององค์การอังค์ถัดที่ผ่านมา ยังไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกในกลุ่มที่กำลังพัฒนา การประชุมในประเทศไทยจึงเป็นความหวังที่จะประสานประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา ให้มีโอกาสเท่าเทียมกันเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

 
     
 
 
 
 

Site Meter ©2008 www.9bkk.com All rights reserved Online Users