เพราะอัตราขยายสูงสุดมักจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกับอัตราขยายด้านหน้าต่อด้านหลังสูงที่สุดสำหรับความยาวบูม หนึ่งๆ นั้น หมายความว่า บ่อยครั้งที่เราต้องลดความต้องการบางอย่างลงบ้าง เพื่อคงให้บางคุณสมบัติยังดีพอที่จะยอมรับได้ แต่ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์คุณสมบัติของสายอากาศยากิ พบว่าที่บางความยาวบูมนั้นสามารถให้อัตราขยายด้านหน้าต่อด้านหลังสูง พร้อมๆ กับได้อัตราขยายดีพอสมควร สำหรับความยาวบูมปานกลาง (น้อยกว่า 2 แลนด้า) แล้ว มักจะนิยมออกแบบความยาวบูมให้เป็นจำนวนเท่าเลขคี่ของ ? แลนด้า (เช่น 1/4 ,3/4, 5/4 แลนด้า เป็นต้น) เพื่อให้ได้อัตราขยายด้านหน้าต่อด้านหลังดี รูปที่ 2 แสดงผลการวิเคราะห์ที่ นายโจ ไรเสิรต์ (W1JR) ได้ศึกษาการออกแบบสายอากาศยากิของ ดร. กุนเธอร์ ฮอก (DL6WU) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการออกแบบที่ดีที่สุดแบบหนึ่ง จะเห็นว่ามีบางความยาวบูมที่เหมาะสมที่ให้อัตราขยายด้านหน้าต่อด้านหลังดีที่สุดและความยาวบูมเหล่านี้จะห่างกันประมาณ 2 แลนด้า (ยกเว้นสำหรับความยาวบูมที่ น้อยกว่า 2 แลนด้า) ถ้าออกแบบสายอากาศยากิโดยใช้ความยาวบูมเหล่านี้ ก็จะสามารถให้อัตราขยายได้สูงที่สุด โดยยังคงได้อัตราขยายด้านหน้าต่อด้านหลังสูงด้วย