|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แหล่งจ่ายไฟ 3 ระดับ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปกติหม้อแปลงราคาถูกที่มีขนาดหนึ่ง หรือ สองขดลวดนั้นเพียงพอสำหรับการสร้างแรงดันไฟบวกและ ไฟลบสำหรับการทำงานของวงจรขยาย แต่ถ้าคุณต้องการเพิ่มแรงดันสูงขึ้นในแต่ละแหล่งจ่ายไฟ ( เช่น การปรับแรงดันสำหรับเครื่องรับวิทยุ ) วงจรนี้แสดงการทำงานที่ง่ายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้หม้อแปลงขนาด 15 โวลต์ วงจรนี้จะสร้างแรงดันไฟบวก 24 โวลต์ และ 12 โวลต์ และ แรงดันไฟลบ 12 โวลต์ ขึ้นมา |
|
|
|
|
|
วงจรนี้สำหรับการสร้างแรงดันเอาต์พุต +24 โวลต์ ซึ่งเกิดจากการใช้ IC1 ในการสร้างกราวต์เสมือน โดยใช้พื้นฐานของการแบ่งแรงดันโดยใช้ตัวต้านทาน 2 ค่าเท่าๆ กัน โดยแบ่งแรงดัน Ub ที่ตกคร่อมตัวเรียงกระแสจากประมาณ 40 โวลต์ ไปถึง 20 โวลต์ ขณะที่แรงดัน Ub/2 เป็นบัฟเฟอร์โดยใช้ออปแอมป์ตามกราวด์เสมือนในการขับโหลด วงจรนี้ใช้หลักการดังกล่าวเหมือนกันแต่แทนที่จะใช้การแบ่งโดยตัวต้านทานที่เท่ากันทั้งสองตัวจะใช้การแบ่งโดยให้ตัวต้านทาน R1 และ R2 มีค่าไม่เท่ากันในการแรงดันตกคร่อมตัวเรียงกระแส ( ประมาณ 40 โวลต์ ) ขณะที่ระดับความดันไฟฟ้าที่บัฟเฟอร์โดยออปแอมป์ และ ส่วนของทรานซิสเตอร์เอาต์พุตภายหลังตกอยู่ประมาณ 15 โวลต์ เหนือแรงดันที่ต่ำกว่า และ ด้วยเหตุนี้ประมาณ 25 โวลต์ ภายใต้แรงดันที่สูงกว่า แรงดันทั้ง 3 จะใช้กระแสประมาณ 100 มิลลิแอมป์ ซึ่งแสดงดังในรูป |
|
|
|
|
|
แหล่งจ่ายไฟสำหรับออปแอมป์ซึ่งไม่สมส่วนกันจะกินกระแสที่ต่ำซึ่งจัดการโดยใช้ซีเนอร์ไดโอด |
|
|
ผลลัพธ์ที่ได้ในการทดสอบวงจรโดยใช้หม้อแปลงขนาด 15 โวลต์ 1.6 แอมป์ แรงดันเอาต์พุตช่วงบวกและ ลบ 12 โวลต์ ขณะที่มีโหลดอยู่ที่ประมาณ 10 มิลลิแอมป์ ของแต่ละตัว และ เอาต์พุตแรงดัน 24 โวลต์ โหลดจะได้ประมาณ 20 มิลลิแอมป์ นอกเหนือจากการตกคร่อมในแรงดันเอาต์พุตทั้งหมด สำหรับวงจรขนาดเล็กใช้กระแสประมาณ 20 มิลลิแอมป์ การใช้ถือว่าพอเพียง สำหรับวงจรอื่นหรือสวิตซ์โหลดสามารถเพิ่มอุปกรณ์ทดแทนอื่นๆ ได้ตามต้องการ |
|
|
|
|