ไฟกระพริบแบบพิเศษ

 
 

 

 
 
 
     
 
 
     
 

                  ไฟกระพริบนี้ทำงานโดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ตัวและสามารถใช้แรงดันไฟเอซีช่วงประมาณ 4 – 16 โวลต์ ( หรือใช้ 6 – 24 โวลต์ ดีซี ) และ กินกระแสน้อยกว่า 1 มิลลิแอมป์ ซึ่งทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้นอีกด้วย ซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบกับการใช้ไอซีไทม์เมอร์ 555 ซึ่งต่อเป็นวงจรแอสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ได้ในการทำงานขึ้นอยู่กับค่าของอุปกรณ์กำหนดเวลาโดยอัตราการกระพริบจะอยู่ในช่วง 1 – 1.5 เฮิรตซ์ แม้ว่าการกระพริบแต่ละครั้งจะน้อยกว่ามิลลิวินาที แต่ระดับของแสงที่ได้นั้นค่อนข้างสูงทีเดียวเนื่องจากวงจรนี้ใช้แอลอีดีกระแสสูง ในการประยุกต์ใช้งานวงจรนี้สามารถนำไปใช้เป็นวงจรจำพวกระบบรางรถไฟจำลอง

 
     
 

                  วงจรนี้จะใช้ไทริสเตอร์ขนาดเล็กและราคาถูกทำหน้าที่เป็นตัวกำเนิดความถี่ โดยใช้วงจรแบ่งแรงดัน R1/R2 คงสถานะแรงดันที่ขาเกต ( G ) ไว้ประมาณ 20% ของแหล่งจ่ายไฟ ส่วนคาปาซิเตอร์ C2 จะถูกประจุผ่าน R3 ในกรณีนี้แรงดันตกคร่อมขาคาโทด ( K ) จะมีประมาณ 0.5 โวลต์ ถึง 1 โวลต์ ซึ่งแรงดันจะต่ำกว่าแรงดันของขาเกต ( อันนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไทริสเตอร์ ) ซึ่งกระแสของขาเกตมีขนาดเพียงพอในการทริกกระแสให้กับตัวไทริ-สเตอร์

 
     
 

ทางด้านตัวเก็บประจุ C2 จะคายประจุผ่านรอยต่อขาคาโทด และ ขาอาโนด , ตัวต้านทาน R4 และ แอลอีดี ซึ่งจุดประสงค์ของ R4 นั้นมีเพียงอย่างเดียว คือ จำกัดกระแสที่ยอมรับได้ของแอลอีดี หลังจาก C2 คายประจุแล้วรอยต่อของคาโทด และ อาโนด จะคัทออฟอีกครั้งค่าความต้านทานของ R3 จะสูงขึ้นดังนั้นระดับของกระแสก็จะไม่ได้รับ ( เบอร์ BRX45 – 57 จะใช้กระแสน้อยกว่า 5 มิลลิแอมป์ ) ซึ่งการกระพริบถัดไปจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้า C2 ไม่ได้ประจุไฟอีกครั้ง

 
     
 

                  อัตราการกระพริบของแอลอีดีจะถูกกำหนดค่าโดย R3 หรือ R2 ส่วนรายละเอียดของไทริสเตอร์ที่ใช้ในวงจรนี้ค่ากระแสของเกตจะน้อยกว่า 0.2 มิลลิแอมป์ ในการทำงานจริงนั้นอาจใช้หม้อแปลงแบบฮาร์ฟเวฟเรกติไฟ-เออร์ และ ตัวเก็บประจุฟิวเตอร์ตัวเล็กเพียงพอสำหรับแหล่งจ่ายไฟในวงจรนี้

 
 

                  ส่วนแผ่นปริ๊นต์แสดงดังรูป วงจรไฟกระพริบนี้สามารถใช้แรงดันไฟดีซีได้ ( ช่วงประมาณ 6-24 โวลต์ )
ในกรณีนี้ D1 จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการกลับขั้วของแรงดัน