|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สร้างไฟ 5 โวลต์จากไฟบ้าน
|
|
|

|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บางครั้งเรามีความต้องการซ่อนอุปกรณ์ป้องกันไว้ในห้องนั่งเล่นหรือห้องทั่วไปภายในบ้าน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มักจะติดตั้งไว้ตามผนังหรือตามปลั๊กไฟ |
|
|
โดยอุปกรณ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ส้วนต้องการแหล่งจ่ายไฟทั้งสิ้นและส่วนใหญ่ก็ต้องติดตั้งแหล่งจ่ายไฟไว้ภายในตัวอุปกรณ์มากกว่าติดตั้งจากภายนอก |
|
|
แหล่งจ่ายไฟในบทความนี้เป็นวิธีการแปลงไฟ 220 โวลต์ ให้กลายเป็นแหล่งจ่ายไฟตรง 5 โวลต์ ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งไว้ภายในปลั๊กไฟติดผนังได้ |
|
|
แยกอุปกรณ์ไฟฟ้าออกจากไฟ 220 โวลต์ แต่ในแหล่งจ่ายไฟนี้จะไม่ใช้หม้อแปลงเนื่องจากต้องการประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง ปัญหาเกิดขึ้นแน่นอนว่าเราจะใช้อะไรในการลดระดับแรงดันไฟ ซึ่งในการลดแรงดันจากเรกกูเรเตอร์ไม่สามารถต่อจากไฟ 220 โวลต์ได้โดยตรงแน่นอน ด้วยเหตุนี้ในวงจร อันดับแรกเราจะต้องสร้างแรงดันประมาณ 40 โวลต์โดยใช้อุปกรณ์ประเภทพาสซีพและใช้ IC1 ในการลดระดับแรงดันลง เนื่องจากตัวไอซีคอนเวอร์เตอร์นั้นจะทำงานจากอินพุตสูงสุดได้ไม่เกิน 45 โวลต์ |
|
|
เริ่มต้นแรงดันไฟ 220 โวลต์จะถูกเชื่อมต่อกับฟิวส์ F1 เป็นตัวแรกและถูกแปลงไฟโดยใช้ไดโอดบริดจ์เร็กติไฟเออร์ |
|
|
ทางด้านของเฟต T2 นั้นถูกใช้เป็นสวิตซ์เพื่อหยุดการทำงานเมื่อแรงดันมีมากกว่า 40 โวลต์ ขณะที่ขาเกตของ T2 จะถูกขับผ่าน R3 และ R4 ซึ่งทันทีที่แรงดันมากกว่า 40 โวลต์ ทรานซิสเตอร์ T1 จะนำกระแสเนื่องจากแรงดันที่รอยต่อขอเกตและเดรนของ T2 จะน้อยลงจึงทำให้ T2 หยุดการนำกระแส เหตุผลเนื่องจากตัวเก็บประจุ C1 ไม่สามารถประจุกระแสไฟฟ้าได้และแรงดันตกคร่อมสูงสุดของ C1 ก่อนหน้านั้นมักถูกจำกัดอยู่ที่ประมาณ 40 โวลต์ |
|
|
โดย IC1 และอุปกรณ์ล้อมรอบจะแปลงแรงดันดังกล่าวให้เหลือแรงดันเพียง 5 โวลต์ และจะได้กระแสเอาต์พุตสูงสุด 1 แอมป์ |
|
|
ส่วนแผ่นปริ๊นต์นั้นแสดงรูป และข้อแนะนำในการติดตั้งควรใส่ตัวต้านทาน R1 ก่อนเนื่องจากพื้นที่มีจำกัดและจากนั้นใส่ R5 ให้ลอยเหนือ R1 ขึ้นมา ส่วนการติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด หลังจากการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว การทดสอบก็ควรระวังอย่าสัมผัสกับแผ่นปริ๊นต์โดยตรงเนื่องจากในแผ่นปริ๊นต์มีแรงดันไฟ 220 โวลต์อยู่ด้วย และการติดตั้งแผ่นปริ๊นต์ควรเจาะรูที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ม.ม. |
|
|
|
|
|
|
|