|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เครื่องส่งอินฟราเรดด้วยไอซีเบอร์ HT12E
|
|
|

|
|
|
เครื่องส่งอินฟราเรดจะบรรจุด้วยไอซีเข้ารหัสเบอร์ HT12E ซึ่งได้ออกแบบให้กระทัดรัดสามารถพกพาได้สะดวก |
|
|
|
|
|
การทำงานของไอซีเข้ารหัส HT12E นั้นจะต้องมีการกำหนดที่ขาอินพุตแอดเดรส A1 ถึง A8 ซึ่งการเซ็ตค่าแอดเดรสดังกล่าวนั้นจะต้องมีค่าเหมือนกับด่าแอดเดรสของเครื่องรับด้วยเช่นกัน |
|
|
|
|
|
บนแผ่นปริ๊นเส้นลายทองแดง ของขาแอดเดรสจะถูกเชื่อมต่อไปยังกราวด์ซึ่งเป็นเส้นขนาดบางซึ่งค่าแอดเดรสจะเป็นศูนย์ทั้งหมดซึ่งถ้าเราตัดเส้นเหล่านี้ออกก็จะทำให้ขาเหล่านี้กลายเป็นลอจิก high นั่นเอง ซึ่งการเปลี่ยนตำแหน่งแอดเดรสนั้นก็เพื่อในกรณีที่เราใช้เครื่องส่งนี้หลายๆ ชุดในที่เดียวกัน |
|
|
|
|
|
การสร้างรหัสนั้นจะใช้ขาที่ 17 ของ IC1 ซึ่งจะมอดูเลตสัญญาณที่ IC2 ซึ่งมีความถี่พาหะที่ 40 kHz |
|
|
|
|
|
ส่วนทรานซิสเตอร์T1 นั้นจะทำหน้าที่ขับแอลอีดีอินฟราเรดผ่าน R4 ซึ่งเป็นการส่งรหัสอินฟราเรดออกไปยังเครื่องรับนั่นเอง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรนี้จะใช้แหล่งจ่ายไฟจากถ่านลิเทียมจำนวนสองก้อนซึ่งวงจรนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเรากดสวิตซ์ S1 เท่านั้น ซึ่งทำให้แบตเตอรี่สามารถใช้ได้เป็นปีแน่นอน |
|
|
|
|
|
การสร้างและการปรับแต่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตามควรใส่ซ็อกเก็ตไอซีให้กับไอซีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสียหายจากการบัดกรี |
|
|
|
|
|
ส่วนที่ยึดแบตเตอรี่ด้านล่างจะถูกเชื่อมต่อกับกราวด์และด้านบนจะถูกเชื่อมต่อกับไฟบวก ดังนั้นการใส่แบตเตอรี่จึงต้องใส่ให้ถูกต้องโดยหันด้านลบลงล่างทั้งสองก้อนซึ่งจะได้แหล่งจ่ายไฟของวงจรมีขนาดเท่ากับ 6 โวลต์ |
|
|
|
|
|
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือความสูง ของทรานซิสเตอร์ T1 ในตอนปิดฝาครอบซึ่งอาจทำให้ปิดไม่สนิท วิธีการแก้ไขก็คือหลังจากบัดกรีแล้วให้หักขาทรานซิสเตอร์ให้นอนราบติดกับแผ่นปริ๊นต์เพียงเท่านี้เราก็จะได้เครื่องส่งอินฟราเรดไว้ใช้งานค่กับเครื่องรับอินฟราเรดสั่งงานสองตำแหน่งที่อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|