|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรบาลานซ์ปรีแอมป์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรปรีแอมป์นี้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานกับไมโครโฟนแบบไดนามิค (มูฟวิ่งคอลย์ MC) ซึ่งมีอิมพีแดนซ์ถึง 200 โอห์ม พร้อมด้วยวงจรบาลานซ์ โดยที่ออแบบใช้สำหรับสเตจเดียว วงจรนี้ใช้พื้นฐานของไอซีออปแอมป์ NE5534 |
|
|
|
|
|
การออกแบบจะได้รับค่า Common-mode rejection (CMR) สูงสุดที่สัญญาณบาลานซ์ อัตราการแบ่งจะใช้ตัวหาร (R1-R4 และ R2-R5 ตามลำดับ) ที่อินพุตของออปแอมป์จะมีค่าเหมือนกัน ที่โพเทนเซียลมิเตอร์ P1 จะถูกต่ออนุกรมกับตัวต้านทานR5 เพื่อทำหน้าที่ในการปรับค่า common mode rejection |
|
|
|
|
|
คาปาซิเตอร์ C1 จะทำหน้าที่ป้องกันแรงดันที่ขาอินพุตขณะที่ตัวต้านทาน R7 ทำหน้าที่รักษาความเสถียรของวงจรขยายคาปาซิทีฟโหลด ขณะที่ความต้านทาน R3 จะป้องกันวงจรขยายที่ออสซิสเลชั่นเมื่ออินพุตไม่ได้ต่อกับไมโครโฟน ในกรณีที่สายของไมโครโฟนมีความยาวไม่มาก ตัวต้านทาน R3 ก็ไม่มีความจำเป็น ด้วยเหตุที่ค่าคาปาซิทีฟของสายที่ปนเข้ามาอาจทำให้มีผลต่อความเสถียรของวงจรขยาย อย่างไรก็ดีที่ตัวต้านทาน R3 ช่วยทำให้ค่า CMR ประสิทธิภาพดีขึ้นจาก >70 dB เป็น >80 dB |
|
|
|
|
|
ประสิทธิภาพของวงจรปรีแอมป์ค่อนข้างดีทีเดียว ค่า THD+N (total harmonic distortion plus noise) น้อยกว่า 0.1% ที่สัญญาณอินพุต 1 mV ขณะที่อิมพีแดนซ์ประมาณ 50 โอห์ม |
|
|
|
|
|
ภายใต้สภาพที่เหมือนกันอัตรา Signal-to-noise จะมีประมาณ -62.5 dBA |
|
|
ถ้าหากใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะพิเศษ จะช่วยให้วงจรขยายนี้มีอัตราขยายถึง 50 dB(X316) |
|
|
หลังจากปรับค่า P1 ไว้ที่ 1 kHz ค่าของ CMR เมื่อไม่มีตัวต้านทาน R3 จะมีประมาณ 120 dB |
|
|
แหล่งจ่ายไฟที่ใช้มีขนาดแรงดันเท่ากับ +_15 โวลต์ และกินกระแสที่แรงดันนี้ประมาณ 5.5 มิลลิแอมป์ |
|
|
หมายเหตุ วงจรคัปปลิ้งที่ใช้ในวงจรแหล่งจ่ายไฟประกอบด้วย L1 , L2 ,C2-C5 |
|
|
|
|
|
|
|