|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรควบคุมความเร็วพัดลมคอมพิวเตอร์สัญญาณรบกวนต่ำ
|
|
|

|
|
|
เพียงอุปกรณ์ 3 ตัวเท่านั้นที่วงจรควบคุมความเร็วพัดลมต้องการ ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์ตัวแรกสำหรับปรับแรงดันของเรกูเรตและตัวต้านทานอีกจำนวนสองตัวเพื่อใช้ในการแบ่งแรงดัน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นตัวต้านทานแบบเทอร์มิสเตอร์ NTC (tem-perature sensitive resistor) ขณะที่ตัวต้านทานอีกตัวเป็นแบบธรรมดาและแหล่งจ่ายไฟ 12 โวลต์ซึ่งหากไมได้ต่อกับวงจรภายในก็จำเป็นต้องมีการต่อตัวเก็บประจุคัปปลิ้งขนาด 100 nF ไว้ด้วย |
|
|
|
|
|
เทอร์มิสเตอร์มีค่าประมาณ 470 โอห์ม ซึ่งกำหนดแรงดันเอาต์พุตของ LM-317T ประมาณ 7 โวลต์ที่ 25 องศาเซลเซียสทำให้แน่ใจว่าในตอนพัดลมเริ่มหมุน ถ้าอุณหภูมิไต่ขึ้นถึง 40 องศาเซลเซียสแรงดันเอาต์พุตของเรกูเลตจะไปถึงค่าสูงสุดและพัดลมก็จะหมุนที่ความเร็วสูงสุด แรงดันที่ตกคร่อมเรกูเรตจะอยู่ที่ 1.75 โวลต์ สำหรับกระแสของมอเตอร์ประมาณ 300 มิลลิแอมป์ และในกรณีนี้จะใช้แรงดัน 2 โวลต์ระดับกระแสสูงสุดจะประมาณ 1 แอมป์ ซึ่งเราสามารถใช้เรกูเรตที่กระแสต่ำกว่าได้ดังเช่นเบอร์ LM2941CTของบริษัทเนชั่นเนลเซมิคอนดัคเตอร์ เพื่อความแน่ใจมากขึ้นจึงต้องมีการขยายวงจรให้ใหญ่ขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งแสดงดังในรูปที่ ข อย่างไรก็ตามวงจรสามารถลดแรงดันตกคร่อมที่ 0.2 โวลต์ ที่ 300 มิลลิแอมป์ หรือ 0.5 โวลต์ ที่ 1 แอมป์ อนึ่งแรงดันตกคร่อมของเรกูเรตจะไม่สามารถใช้งานได้ในรูปแบบของไอซี 3 ขา ต้องใช้ไอซีแบบ 5 ขา |
|
|
|
|
|
วงจรนี้มีขนาดไม่ใหญ่มากนักจึงสามารถใช้กับแผ่นวงจรพิมพ์แบบสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปได้ จุดสำคัญก็คือที่เรกูเรตซึ่งมีเป็นแบบ TO-220 จึงต้องใส่แผ่นระบายความร้อนให้กับตัวไอซีด้วย และอีกจุดหนึ่งที่สำคัญก็คือในส่วนของเทอร์มิสเตอร์ NTC นั้นจะต้องต่อไว้ภายนอกแผ่นวงจรพิมพ์ใกล้ๆ กับจุดที่มีความร้อนสูง เช่น ใกล้กับแผ่นระบายความร้อนของซีพียูเป็นต้น |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
|
|