|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรควบคุมความร้อนของจอคอมพิวเตอร์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
วงจรนี้ออกแบบมาเพื่อปกป้องจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้ร้อนเกินไป โดยนำวงจรนี้ไปต่อใกล้กับเพาเวอร์ของจอคอมพิวเตอร์ |
|
|
|
|
|
จอคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่เป็นจอแบบ CRT ซึ่งมักจะเสียง่ายหากมันร้อนเกินไป หลังจากที่เราใช้ไปแล้วประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมงจอคอมพิวเตอร์จะมีอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียสรวมถึงอุณหภูมิล้อมรอบสูงกว่า 20 องศา ความร้อนโดยส่วนใหญ่มาจากตัวขับหลอดภาพ VGA , วงจรแนวนอน ( horizontal ) , วงจรแนวตั้ง ( vertical ) และแหล่งจ่ายไฟ สิ่งที่ทำได้ก็คือการดูดความร้อนออกซึ่งจะช่วยยืดอายุการทำงานของหลอดภาพ ( และอุปกรณ์ล้อมรอบ ) โดยการต่อเติมพัดลมประเภท brushless เข้าไปซึ่งลักษณะจะเป็นช่องสำหรับให้ลมลอดเข้ามา ซึ่งจะประหยัดพลังงานมากกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าพัดลมแบบธรรมดา |
|
|
|
|
|
ไดโอด D2 , D3 และ D4 ทำหน้าที่คอยตรวจสอบอุณหภูมิ ซึ่งไดโอดจึงส่งผลต่อการป้องกันอุณหภูมิโดยมีอัตรา 6 มิลลิโวลต์ต่อองศาเซลเซียส สำหรับการกำจัดสัญญาณรบกวนจะใช้สายชีลด์ต่อจากเซนเซอร์อุณหภูมิไปยังวงจรเซนเซอร์ |
|
|
|
|
|
เราใช้แรงดันไฟฟ้า 12V จากแหล่งจ่ายไฟของคอมพิวเตอร์หรือมิฉะนั้นก็ใช้อะแดปเตอร์เอาต์พุต 12 โวลต์ดีซีก็ได้ คาปาซิเตอร์ C1 และ C2 ต่อเป็นวงจรดีคัปเปิลเพื่อจำกัดสัญญาณริปเปิลที่เกิดขึ้นจากสวิตซิ่งและวงจรออสซิสเลต ส่วน R1 ทำหน้าที่ป้อนกระแสไบอัสไปถึงซีเนอร์ไดโอด D1 ซึ่งมีขนาด 6 โวลต์ ทำหน้าที่ในการอ้างอิงบนขานอนอินเวอร์ติงของออปแอมป์ IC2/2 ส่วน IC1 เป็นไอซีประเภท precision shunt regulator แรงดันสามารถปรับมากกว่า 6 โวลต์ดดยการปรับที่ P1 ส่วนคาปาซิเตอร์ C4 ต่อเป็นวงจรดีคัปปลิงกับเซนเซอร์ |
|
|
|
|
|
ตัวต้านทาน R4 และ คาปาซิเตอร์ C5 ต่อเป็นวงจรอินทิเกรเตอร์เพื่อใช้หน่วงเวลาประมาณ 3 sec การเปลี่ยนแปลงสัญญาณเอาต์พุต on / off ของไอซี IC2/2 ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าของแรงดันเพื่อป้อนเข้าที่ขา 3 ของออปแอมป์ตัวที่สอง IC2/1 |
|
|
|
|
|
ที่ IC3 เบอร์ TLC555 ต่อเป็นวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์โดยมี R5 และ C6 ควบคุมการสร้างสัญญาณพัลส์ฟันเลื่อยโดยมีความถี่ประมาณ 170Hz สัญญาณพัลส์ฟันเลื่อยจะถูกต่อเข้าที่ขอ 2 ของ IC2/1 เมื่อเปรียบเทียบแรงดันสองค่าที่ขาอินพุตแล้วจะสร้างแรงดันเอาต์พุต PWM ( pulse width modulated ) คลื่นสัญญาณพัลส์ฟันเลื่อยแล้วส่งสัญญาณ PWM ให้กับเอาต์พุตเพื่อขับ T1 ผ่านทางตัวต้านทาน stopper R6 ซึ่งเพาร์เวอร์เฟตจะสวิตซ์ on / off พัดลมตามสัญญาณ PWM |
|
|
|
|
|
สัญญาณพัลส์ Back emf เกิดขึ้นเมื่อ T1 สวิตซ์ on / off โดยไดโอดความเร็วสูง D7 |
|
|
|
|
|
การปรับแต่งขั้นแรกให้ปรับที่ตัวต้านทาน P1 โดยให้อยู่ที่ค่าความต้านทานสูงสุด จากนั้นใช้เครื่องเป่าผมเป่าลมร้อนไปยังไดโอดดังกล่าว จากนั้นปรับตัวต้านทาน P1 อย่างช้าๆ ไปทางตำแหน่งค่าความต้านทานน้อยสุดพร้อมกับใช้ดิจิตอลมิเตอร์วัดที่ขา 7 ของไอซี IC2/2 การตั้งอุณหภูมิให้ตั้งไว้ที่ประมาณ40 องศาเซลเซียส ซึ่งที่อุณหภูมินี้มิเตอร์จะวัดค่าแรงดันได้ประมาณ 12โวลต์
วงจรนี้ใช้กระแสประมาณ 120 mA จากแหล่งจ่ายไฟ 12 โวลต์ |
|
|
|
|
|
|
|